วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 13 วันที่ 19 มีนาคม 2555

อาจารย์นัดสอบสอน โดยให้แต่ละกลุ่มออกไปสอนทีละคนตามวันของตนเอง มีดังนี้
กลุ่ม 1 หน่วยไข่
กลุ่ม 2 หน่วยนม
กลุ่ม 3 หน่วยบ้าน
กลุ่ม 4 หน่วยมะม่วง
กลุ่ม 5 หน่วยนาฬิกา
กลุ่มของดิฉันสอน หน่วยบ้าน โดยดิฉันสอนวันอังคาร สอนเรื่อง ส่วนประกอบของบ้าน มีสื่อการสอนและกิจกรรมการสอน ดังรูป






วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 12 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555


อาจารย์พูดเกี่ยวกับแผนที่ได้ทำไปว่ามีการนับไหม มีการรวมไหม 
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามว่ามีการแยกไหม เช่น การแยกรสชาติของนมจืด
 หวาน เปรี้ยวและได้พูดเกี่ยวกับมาตารฐานทางด้านคณิตศาสตร์


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัดหาค่าปริมาณ เช่น การวัดส่วนสูง หรือการชั่งน้ำหนัก 
วัดระยะทาง หน่วยก็จะออกมาเป็นปริมาณกิโลเมตร การหาพื้นที่ การตวงให้ได้
เรื่องของปริมาตร เช่น การตวงนม
สาระที่ 3 เรขาคณิต เรื่องของรูปทรง3มิติ ความกว้าง ความลึก 2 มิติ ความกว้างความยาว มิติเดียว เช่น ภาพ
-ตำแหน่ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-ทิศทาง เหนือ ใต้ ออก ตก
ระยะทาง ใกล้ ไกล
สาระที่ 4 พีชคณิต รูปแบบและความสัมพันธ์ เช่น ชุดนักศึกษา
รูปแบบ คือ ตัวอย่างแบบเสมือนจริง จำนวน ตำแหน่ง รายละเอียดต่าง ๆ
สราะที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและ
การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิ
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือ การแก้ปัญหา เช่น
 รถเสียแล้วเด็ก ๆจะมีรถอะไรไปบ้าง แก้ปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์ มีอยู่ 20บาท 
เด็ก ๆจะไปรถอะไรได้บ้าง

ครั้งที่ 11 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555


อาจารย์ได้ขอดูแผนของแต่ละกลุ่มและได้บอกว่าควรที่จะแก้ไขตรงไหนบ้าง
และจะต้องมีสื่ออะไรบ้างในการสอนของแต่ละวัน

ครั้งที่ 10 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555


อาจารย์พูดเรื่องการเขียนแผนของแต่ละกลุ่มและการทำหน่วยของแตาละกลุ่ม
จากนั้นก็ได้ขอดูแผนของแต่ละกลุ่มว่าถูกหรือไม่

ครั้งที่ 9 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555


อาจารย์ได้ขอดูแผนของแต่ละคนโดยที่ขอดูแผนอันเก่าก่อนที่จะดูแผนอันใหม่
จากนั้นก็ได้อ่านคำคล้องจองหน่วยเรื่อง นมให้ฟัง จากนั้นก็ได้บอกวิธีการสอน
ว่าต้องสอนแบบไหนและได้บอกเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ

กิจกรรมเคลื่อไหว
-เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
-เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
-เคลื่อนไหวตามเพลง
-เคลื่อนไหวพื้นฐาน
-เคลื่อนไหวตามเนื้อหา

เกมการศึกษา
1.ล็อตโต
2.จิ๊กซอ
3.โดมิโน้
4.ความสัมพันธ์2แกน
5.เรียงลำดับ
6.มิติสัมพันธ์

ครั้งที่ 8 วันที่ 31 มกราคม 2555




นิยามของคำว่าประสบการณ์หมายถึง ประสบการณ์ทางด้านร่างกาย คือการ
เคลื่อนไหว หลักสตรู คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์ที่ครูวางแผน หรือ ที่เด็ก
อยากรู้หรือวางแผน ซึ่งประกอบไปด้วยประสบการณ์หลายประสบการณ์โดยต้อง
ให้เด็กลงมือกระทำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตราฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์การประเมินเกณฑ์ขั้นต่ำของการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์

มาตราฐานการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ครั้งที่ 7 วันที่ 24 มกราคม 2555

อาจารย์ให้ออกไปเล่าประสบการณ์ที่ได้ไปศึกษาสังเกตของแต่ละโรงเรียนจนครบทุกกลุ่ม
กลุ่มดิฉันโรงเรียนเกษมพิทยา ซึ่งมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและดีมากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่สามารถพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน ได้เป็นอย่างดี และอาจารย์ได้สั่งงาน คือ สมัครโทรทัศน์ครู แล้วสรุปในหัวข้อ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อีกอย่างคือ ให้พิมพ์ ชื่อ เลขที่ วันตามเลขที่และสีตามวัน โดยอาจารย์ให้นับจากเลขที่ 1 คือ วันอาทิตย์และต่อไปเรื่อยๆจนถึงวันของตนเองแล้วทำมาส่งอาทิตย์ถัดไป ดังภาพ


ครั้งที่ 6



เนื่องจากวันที่ 5-19มกราคม 2555 เป็นสัปดาห์ของการออกไปสังเกตการสอนซึ่งข้าพเจ้าได้ออกไปสังเกตการเรีนการสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา



















วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 5 วันที่ 3 มกราคม 2555


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดชดเชยวันปีใหม่

ครั้งที่ 4 วันที่ 27 ธันวาคม 2554


อาจารย์ก็ได้ตรวจงานของแต่ละกลุ่ม

-ทักษะที่สำคัญ
1.ภาษา
2.คณิตศาสตร์

ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดพัฒนาการจะมีอยู่ 4 ด้าน

-ด้านร่างกาย
-ด้านอารมณ์/จิตใจ
-ด้านสังคม
-ด้านสติปัญญา

ครั้งที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม 2554


เรื่องของทฤษฏีที่เกี่ยวกับการทำงานของสมอง คือ
สกินเนอร์ คือ แรงเสริมทางบวกกับแรงเสริมทางลบ
แรงเสริมทางบวก เช่น การให้รางวัลที่จะทำให้เด็กเกิดการภาคภูมิใจ
และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาเขียนหลักการจัดประสบการณ์

หลักการจัดประสบการณ์

1.การจำแนกประเภท
2.การจัดหมวดหมู่
3.การเรียงลำดับ
4.การเปรียบเทียบ
5.รูปร่างรูปทรง
6.พื้นที่
7.การชั่งทวงวัด
8.การนับ
9.การรู้จักตัวเลข
10.การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
11.เวลา
12.การเพิ่มและลดจำนวน

และจากนั้นอาจารย์ก้ได้บอกเครือข่างของคณิตศาสตร์

1.การนับ
2.ตัวเลข
3.การจับคู่
4.การจัดประเภท
5.การเปรียบเทียบ
6.การจัดลำดับ
7.รูปทรงและเนื้อที่
8.การวัด
9.เซท
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์

ครั้งที่ 2 วันที่ 13 ธันวาคม 2554


รื่องการนับตัวเลขและรหัสของนักศึกษาว่าเป็นการเรียงลำดับ

คณิตศาสตร์อนุบาลกับปฐมต่างกันอย่างไร
อนุบาลจะใช้สิ่งของแทนด้วยตัวเลขแต่ปฐมจะใช้ตัวเลข

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญาที่เป็นลำดับขั้น คือ อายุของ
เด็ก  สมองเป็นตัวทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการ
เครื่องมือในการเรียนที่ดีก็คือ ภาษา และคณิตศาสตร์

จากนั้นอาจารย์ได้แจกแผนการจัดประสบการณ์จับคู่สองคนจากนั้นก็ให้ดูว่า
กิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง คู่ของดิฉันได้ หน่วยชุมชนของเรา
 ที่เป็นคณิตศาสตร์คือ เมื่อครูชูตัวเลขใดให้กลุ่มที่มีตัวเลขนั้นๆนั่งลง

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กมีการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตอนใหน

- การเข้าแถว
- จับกลุ่มทำกิจกรรม
- การวิ่งออกกำลังกาย
- การเดินทางมาโรงเรียน
- การตรวจสุขภาพ
- การดื่มนม เช่น ใส่นมลงไปน้อยมากเป็นเรื่องของปริมาณ

ครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธันวาคม 2554

เรื่องความหมายของคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์ คือ การนำเอาทุกสิ่งทุกอย่างมารวมกัน
การบูรณาการ คือ มีแบบละเอียดกับแยกตัว

จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ก็คือ การจัดแบบบูรณาการนั้นเองสำหรับตัวช่วยในหลักสูตรที่จะต้องมีคือ ประสบการณ์สำคัญและเครื่องมือการเรียนรู้ก็คือ ทักษะของภาษา

ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ

ได้รู้เกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์ว่ามีความหมายอย่างไรและการบูรณาการคืออะไรตัวช่วยในหลักสูตรเป็นอย่างไร